เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 46 โดยระบุว่า
ตามที่ได้มี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น
โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ปัจจุบันได้คลี่คลาย และมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น จากการดําเนินมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องส่งผลให้ จํานวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงเป็นลําดับ จนสามารถผ่อนปรนบรรดามาตรการและข้อจํากัดต่าง ๆ ให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดํารงชีวิตและดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล สังคมได้ใกล้เคียงกับปกติ
รวมไปถึงการผ่อนคลายข้อจํากัดเรื่องการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศจากเดิมที่เคยกําหนดเป็นมาตรการสกัดกั้นเชื้อโรคอย่างเร่งด่วน โดยปรับให้สอดคล้องกับนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล เพื่อรับผู้เดินทางจากทั่วโลก การดําเนินการตามแผนและมาตรการจัดการด้านสาธารณสุขทั้งหลายนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่ระยะ Post-Pandemic ที่จะประกาศให้เป็นโรคติดต่อทั่วไป
ในการนี้ รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงเห็นสมควรพิจารณาปรับลดระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร ผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่กับการคงดําเนิน มาตรการที่จําเป็นสําหรับป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อควบคุมการระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ศบค) ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และยกเลิกการกําหนดพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว ให้ ศบค. มีคําสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้นํามาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กําหนดไว้สําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับข้อกําหนดนี้
ให้ยกเลิกการกําหนดพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 10/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กําหนด เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และข้อกําหนดที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการควบคุม แบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้ง มาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกําหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้อกําหนด (ฉบับที่ 44) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เฉพาะการปรับปรุงมาตรการควบคุม แบบบูรณาการและการปรับปรุงการกําหนดผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และข้อกําหนด (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เฉพาะมาตรการควบคุมและป้องกันโรคสําหรับสถานบริการ หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกําหนดขึ้นภายใต้ข้อกําหนดดังกล่าว ยังคงมีผลใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดนี้
ข้อ 3 การผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนสามารถดําเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติยิ่งขึ้น จึงสมควรผ่อนคลายข้อจํากัด ในเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า โดยยกเลิกความในข้อ 1 แห่งข้อกําหนดออกตาม ความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564
การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจ โดยขอให้ประชาชนพิจารณาประโยชน์ตามข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขรายงานว่า การสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี เป็นประโยชน์ด้านสุขอนามัยในการป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้อ ทั้งเชื้อโรคโควิดและโรคติดเชื้อ ทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
รวมทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย) จึงมีข้อแนะนําให้ประชาชนทั่วไปสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นในสถานที่หรือในพื้นที่แออัด มีการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หรืออากาศระบายถ่ายเทไม่ดีเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือรับเชื้อ
กรณีเป็นผู้เข้าข่ายเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อโควิด – 19 จะมีอาการรุนแรงหรือความเสี่ยงสูงต่อการ เสียชีวิต (กลุ่ม ๖๐๔) หรือผู้ที่มีโรคประจําตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจควรสวมหน้ากากอนามัย อย่างถูกวิธีตลอดเวลาเมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ และกรณีเป็นผู้ติดเชื้อ โควิด – 19 หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจากเชื้อโควิด – 19 จําเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่โรค
ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งชี้แจง ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนทุกภาคส่วนทราบถึงแนวการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับ มาตรการสังคม ชุมชน และองค์กร เปลี่ยนผ่านสู่ระยะ Post-Pandemic เฝ้าระวังและกํากับติดตาม สถานการณ์ รวมทั้งจัดทําแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ข้อ 4 การผ่อนคลายมาตรการสําหรับการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของแรงงานต่างด้าว ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติมากยิ่งขึ้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ตามความในข้อ 8 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564
โดยให้การเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเพื่อการทํางาน ข้ามเขตจังหวัด และการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเพื่อการทํางานภายในเขตจังหวัด สามารถ ดําเนินการภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดําเนินการได้ตามปกติ
ข้อ 5 แนวปฏิบัติสําหรับการถ่ายทํารายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้สํานักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สํานักงาน กสทช.) ปรับปรุงแนวปฏิบัติการถ่ายทํารายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่อรองรับกับมาตรการผ่อนคลายต่าง ๆ ที่ได้ประกาศไว้ โดยให้ดําเนินการสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ ศบค. ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว
ข้อ 6 การผ่อนคลายมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่เฝ้าระวัง ให้พื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ดําเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ หรือ กิจกรรมในพื้นที่สถานการณ์ที่จําแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 3 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 44) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565 และข้อ 3 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยให้ปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ดังนี้
(1) ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดให้บริการจําหน่ายและการบริโภคสุราหรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ โดยต้องดําเนินการภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่กําหนด หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดําเนินการไว้ และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เงื่อนไขการจัดระเบียบ และระบบต่าง ๆ และคําแนะนําของทางราชการ
(2) สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถเปิดให้บริการได้ โดยต้องดําเนินการภายใต้ กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดําเนินการไว้ และต้องปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรค เงื่อนไขการจัดระเบียบ และระบบต่าง ๆ และคําแนะนําของทางราชการ
ข้อ 7 มาตรการเฝ้าระวังเพื่อการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่เฝ้าระวัง การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลจํานวนมากให้สามารถทําได้ตามความเหมาะสมโดยให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ กรณีการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลจํานวนรวมกันมากกว่าสองพันคนให้ผู้รับผิดชอบแจ้งการจัดกิจกรรมต่อคณะกรรมการ โรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นมาตรการเฝ้าระวัง และกํากับติดตามมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการระบาดแบบเป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY