จีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบเกือบ 2 ปี – วันที่ 17 ม.ค. บีบีซี รายงานว่า จีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอย่างคาดไม่ถึงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี เนื่องจากตัวเลขอย่างเป็นทางการแสดงว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัว
สำนักสถิติแห่งชาติจีนระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โตขึ้น 4% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 จากปีก่อนหน้า ซึ่งดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ แต่ยังต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้านี้
อีกหนึ่งสัญญาณความอ่อนแอคือการค้าปลีกในเดือนธ.ค. 2564 เติบโตลดลงเหลือ 1.7%
สำหรับทั้งปี ข้อมูลอย่างเป็นทางการแสดงว่าเศรษฐกิจของจีนเติบโตขึ้น 8.1% ดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ และมาอยู่เหนือเป้าหมายประจำปีของรัฐบาลจีนที่ “มากกว่า 6%” อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนเน้นว่า ข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งช้าสุดในรอบครึ่งปี ยังไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ครั้งล่าสุด
ยู ซู จากอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนส์ กล่าวว่า “ตัวเลขจีดีพีไม่ได้สะท้อนผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนในประเทศตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2564 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบริการอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคและการขนส่งแบบออฟไลน์”
เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารประชาชนจีน (People’s Bank of China – PBOC) ระบุว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางระยะเวลา 1 ปี มูลค่า 700,000 ล้านหยวน (3.6 ล้านล้านบาท) เหลือ 2.85% นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวครั้งแรกตั้งแต่เดือนเม.ย. 2563
อีกมาตรการให้กู้ยืมของ PBOC ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนย้อนหลัง 7 วัน มีการลดเช่นกัน ขณะที่ธนาคารอัดฉีดเงินสดระยะกลางอีก 200,000 ล้านหยวน (บาท) เข้าสู่ระบบการเงิน
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้จีนแตกต่างจากธนาคารกลางรายใหญ่อื่นๆ ทั่วโลก เช่น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ที่ส่งสัญญาณมีแผนจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 เท่าในปีนี้ ขณะที่ธนาคารกลางของอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนที่แล้วเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปีเพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องแก้ไขปัญหาราคาที่สูงขึ้น
แนวโน้มเศรษฐกิจของจีนถูกบดบังด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการปราบปรามธุรกิจของรัฐบาลจีน สถานะทางการเงินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งของประเทศ และการระบาดของโอมิครอน แม้ว่าเศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างน่าประทับใจ 8.1% ในปีที่แล้ว แต่จีนอยู่ในช่วงระหว่างล็อกดาวน์จากการระบาดใหญ่ในปี 2020 ซึ่งจะทำให้ฐานเศรษฐกิจต่ำลง