คำ ผกา ฟาด แบบเรียนไข่ต้ม เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ ตามแบบที่รัฐต้องการ ชี้แบบเรียนยุคหลังหลักสูตร 2521 วาดภาพชนบทแสนงาม ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น
วันที่ 24 เม.ย.2566 ลักขณา ปันวิชัย หรือ คำ ผกา แสดงความคิดเห็นกรณีแบบเรียนหนังสือภาษาไทยพาที ระดับชั้น ป.5 ซึ่งมีเนื้อหาว่า กินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือ ข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข เห็นคุณค่าของชีวิต ทำให้สังคมตั้งคำถาม ถึงโภชาการของเด็ก และการมองโลกตามความเป็นจริง ความว่า แบบเรียน ไข่ต้ม กับความจนอันงดงาม มีความเห็นสั้นๆว่า
แบบเรียนไทยเป็นเครื่องมือในการ ‘กล่อมเกลา’ ความคิดอ่อนของเด็กนักเรียนให้เป็นไปตามแบบที่รัฐต้องการ หรือจะเรียกว่าเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อก็ไม่ผิด
อยากจะบอกว่า แบบเรียนในอดีต romanticized ความจนได้เหนือกว่า แบบเรียนไข่ต้มมาก เพราะ แบบเรียนยุคหลังหลักสูตร 2521 เป็นต้นมา วาดภาพชนบทแสนงาม ชาวบ้านกินปลาในแม่น้ำ กินผักพื้นบ้านอย่างพอเพียง เปี่ยมวิตามิน ในน้ำมีปลา ในนามีผักบุ้ง มีดอกโสน ทั้งๆที่ชนบทไม่ได้แสนงามแบบนั้น
- สพฐ. แจงดราม่า หนังสือเรียน ป.5 ให้กินไข่ต้มครึ่งซีก ควรแยกแยะเรื่องแต่ง-เรื่องจริง
- กุมารแพทย์ ติงแบบเรียนป.5 กินข้าวคลุกน้ำปลา ชี้น่ากังวล แนะอาหารต้องเหมาะสม
และว่าบุญว่าบาป คนจนกินไข่ต้มครึ่งลูกนี่โรแมนติกน้อยลง ใกล้เคียงกับความจริงมากขึ้นแล้วนะคะ
ส่วนการสะกดจิตให้ ‘ฟิน’ กับข้าวคลุกไข่ต้มครึ่งลูก นั้น เอาดีๆ ตัวเราหลายคนที่ก็ยังสะกดจิตตัวเองกับหลาย ‘มายาคติ’ ในชีวิตอยู่ (ประเทศเราจน ด้อยพัฒนาแต่อาหารไทยอร่อยที่สุดนะ คนต่างชาติยังชอบมาเที่ยวบ้านเราเลย)
สิ่งที่เราต้องการในการศึกษาไทย ไม่ใช่ เนื้อหาในแบบเรียนที่เปลี่ยนจากโฆษณาชวนเชื่อจากชุดหนึ่งไปสู่อีกชุดหนึ่งที่เราคิดว่าก้าวหน้ากว่า แต่ต้องการให้นักเรียนความสามารถในการถอดรื้อทุกโฆษณาชวนเชื่อได้ด้วยตัวเขาเอง