ก.อุตฯ เร่งเพิ่มขีดความสามารถ ยกระดับชุมชนผู้ประกอบการฐานราก สร้างความได้เปรียบในตลาดอย่างยั่งยืน

Home » ก.อุตฯ เร่งเพิ่มขีดความสามารถ ยกระดับชุมชนผู้ประกอบการฐานราก สร้างความได้เปรียบในตลาดอย่างยั่งยืน
ก.อุตฯ เร่งเพิ่มขีดความสามารถ ยกระดับชุมชนผู้ประกอบการฐานราก สร้างความได้เปรียบในตลาดอย่างยั่งยืน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนองนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โดยจัดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถ ฯ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ชูอัตลักษณ์ชุมชน มุ่งสร้างความได้เปรียบการแข่งขันตลาดทั้งในและนอกประเทศ

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า “การพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการจากทั้งในและนอกประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือกลุ่มอุตสาหกรรมถึงจุดที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่รอบตัวเพื่อให้ระบบอุตสาหกรรมของประเทศสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งการพัฒนาทักษะกำลังคนไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ในระดับชุมชน (Community) ให้เกิดความสามารถในการลดต้นทุนการผลิต ความสามารถลดการใช้พลังงาน ความสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น  เหล่านี้จนสามารถก่อเกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาคใหญ่จนต่อยอดเติบโตไปจนถึงระดับตลาดส่งออกได้”
556134_0“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดำเนินการตามนโยบายสร้างและส่งเสริมการเริ่มต้นธุรกิจ วิสาหกิจชุมชนและพัฒนาธุรกิจใหม่ ด้วยการจัดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภาคกลางและภาคตะวันออก ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY-DIMARC “ดีมาก”) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งถือเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการในระดับชุมชน คือ ความสามารถในการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจรายใหญ่ อีกทั้งเป็นแหล่งผลิตสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)”

“กิจกรรม ฯ ครั้งนี้ผู้ประกอบการทุกท่านได้รับโอกาสสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานในสถาบันเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอัตลักษณ์เข้มแข็งตามพื้นที่ของตน อีกทั้งตรงตามมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นจุดแข็งที่จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าและยอดขายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะสนับสนุนแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้ผู้ประกอบการเพื่อลงทุนพัฒนาเครื่องจักร ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความยั่งยืน หรือเงินทุนหมุนเวียนการผลิตในระบบของผู้ประกอบการ ต่อยอดจนธุรกิจมีความเข้มแข็งได้ ในภาพรวมจะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ” อธิบดี กสอ. กล่าว
556135_1ด้านนางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 เปิดเผยว่า “กิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภาคกลางและภาคตะวันออก ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9, ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 และกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนส่งเสริมอุตสาหกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยผู้ประกอบการ SME , วิสาหกิจชุมชน/OTOP และผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 250 ท่าน จากกลุ่มสินค้าที่มีนวัตกรรม ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและเครื่องดื่ม และที่เกี่ยวข้อง”

“โดยนอกจากกิจกรรม Workshopให้กับผู้ประกอบการแล้ว ยังมีการให้ความรู้หัวข้อน่าสนใจในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มากมาย อาทิ พลิกธุรกิจชุมชนและท้องถิ่นภาคกลาง และภาคตะวันออกด้วยการฉีกกฎการสร้างตัวตนผ่านคนสร้างเรื่อง หลักสูตรพลิกธุรกิจชุมชนแบบก้าวกระโดดสู่ตลาดสากลด้วยทริคพลิกธุรกิจจากสินค้าชุมชนสู่การสร้างตัวตนในยุค AI  การต่อยอดธุรกิจสู่ตลาดทั่วไป ตลาด Crowdfunding ตลาดธุรกิจ B2C ธุรกิจชุมชนพัฒน์ DIPROM x TOYOTA : การนำความรู้และประสบการณ์การทำงานของโตโยต้ามาถ่ายทอดสู่ธุรกิจชุมชนเอสร้างความยั่งยืน จากวิทยากรและโค้ช ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักระดับประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่จะนำความรู้ ทักษะที่ได้รับไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปได้”
 
“เรามีความตั้งใจสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการในระดับฐานรากหรือระดับชุมชน ด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้ การบริหารจัดการ การพัฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับ Soft Power รวมถึงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมครั้งนี้มีความยั่งยืนมากที่สุด” ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กล่าวในท้ายที่สุด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ